ประวัติพระบรมสารีริกธาตุ (วัดพระธาตุราษฎร์บำรุง)
ประวัติพระบรมสารีริกธาตุ (วัดพระธาตุราษฎร์บำรุง)
ความเป็นมาของพระบรมสารีริกธาตุ โดยสังเขป
มีอุบาสกผู้หนึ่งชื่อว่า นายสมพงษ์ สมศิริวาสน์ ทำงานเป็นพนักงานประจำตู้เสบียงรถไฟสายกรุงเทพ-หนองคาย ท่านผู้นี้เป็นผู้มีอุปนิสัยชอบทำบุญเป็ญประจำ ท่านให้ความเคารพนับถือพระเถระรูปหนึ่งซึ่งอยู่จังหวัดเชียงใหม่ พระเถระรูปนี้มีโอกาสไปเยียมคุณสมพงษ์ที่บ้าน ได้ทราบความประสงค์ของคุณสมพงษ์ อยากได้พระบรมสารีริกธาตุ ท่านจึงได้แนะนำวิธีอาราธนาพระบรมสารีริกธาตุ โดยวิธีการสวดมนต์ไหว้พระเจริญจิตภาวนาและอธิษฐานจิตเป็นประจำทุกวัน หลังจากนั้นไม่กี่วันพระบรมสารีริกธาตุก็ได้เสด็จมาประดิษฐานบนหิ้งพระของคุณสมพงษ์ตามความปราถนาอันเป็นกุศลจำนวนหนึ่งองค์ พระเถระเมื่อได้ทราบว่าคุณสมพงษ์ได้พระบรมสารีริกธาตุตามความประสงค์แล้วหนึ่งองค์ ท่านจึงได้ได้มอบพระบรมสารีริกธาตุ ที่ท่านได้มาเมื่อครั้งเดินทางไปนมัสการปูชนียสถานที่อินเดีย ให้กับคุณสมพงษ์จำนวนหนึ่งองค์ และก็ได้เสด็จมาโดยปาฏิหารย์ เพิ่มจำนวนให้คุณสมพงษ์เป็นจำนวนมากองค์ขึ้น คุณสมพงษ์ได้มีโอกาสมาทำบุญที่วัดราษฎร์สามัคคี(ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็นวัดพระธาตุราษฎร์บำรุง) ราวปี พ.ศ. 2500-2507 ในขณะนั้นมีหลวงปู่บุญมี ถาวโร เป็นเจ้าอาวาส หลวงปู่บุญมี สอนพระภิกษุสามเณรและชาวบ้านด้วยการเทศนาโวหาร การเทศนาของหลวงปู่ในแต่ละครั้งเป็นที่จับใจของผู้ฟังเป็นอย่างมาก คุณสมพงษ์ก็ได้มีโอกาสฟังธรรมเทศนาจากหลวงปู่หลายครา จนมีความเคารพศรัทธาในหลวงปู่เป็นอย่างมาก จึงได้ชวนคุณแม่ทองดี สมศิริวาสนื ผู้เป็นมารดา อาราธาพระบรมสารีริกธาตุมาถวาย ในรูปแบบของการทอดกฐิน เมื่อวันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2507 
คุณสมพงษ์และคุณแม่ทองดี สมศิริวาส ได้อาราธนาพระบรมสารีริกธาตุ 5 พระองค์ พระอรหันตธาตุ 8 องค์ บรรจุอยู่ในผอบทองๆบรรจุซ้อนอยู่ในเจดีย์ไม้จันทร์หอม ซึ่งห่มด้วยผ้าทอง เจดีย์ไม้จันทร์หอมบรรจุซ้อนอยู่ในพระเจดีย์ทองเหลือง ขนาดฐานกว้าง 4 นิ้ว ซึ่งประดับตกแต่งด้วย แก้ว แหวน เงิน ทอง นาก นพเก้า อัญมณีสีต่างๆในพระเจดีย์ทองเหลือง บรรจุด้วยพระพุทธรูปองค์เล็กปางต่างๆ พระเครื่องเนื้อว่าน เนื้อผง เนื้อโลหะ แบบต่างๆ ทั้งพระเก่า พระใหม่ รวม 9 องค์ พระเจดีย์ทองเหลืองประดิษฐานอยู่ในตู้แก้ว ในขณะเดียวกันชาวบ้านก็มีข้อกังขาว่าพระบรมสารีริกธาตุที่คุณสมงพงษ์อาราธนามา เป็นของจริงหรือไม่ ในที่สุดก็ลงเอยตัดสินพิสูจน์จริง-ปลอม โดยการทดลองด้วยวิธีเปิดออกดูว่ามีรูปลักษณะอย่างไร และพิสูจน์ด้วยการอธิษฐานเสี่ยงทายโดยวิธีการ อารธนาลงขันน้ำที่มีน้ำอยู่ และอธิษฐานว่าถ้าหากเป็นพระบรมสารีริกธาตุแห่งองค์พระผู้มีพระภาคเจ้าจริง ขอให้ลอยขึ้นเหนือน้ำในขัน ถ้าหากมิใช่ของจริง ขอให้จมดิ่งลงก้นขันเหมือนหินทั่วไป ปรากฏว่า พระบรมสารีริกธาตุได้ลอยขึ้นเหนือน้ำในขัน แสดงปาฏิหารย์ให้มหาชนเห็นเป็นประจักษ์ทุกองค์ ในขณะเดียวกันฝนก็กระหน่ำตกลงมาอย่างแรงจนมองไม่เห็นผู้คน เมื่อมหาชนได้ประจักษ์แจ้งจากการพิสูจน์ในความสงสัยว่าจริงหรือปลอมก็ได้หายไปพร้อมกับฝนหยุดตก ต่างเกิดความมหัศจรรย์ในเหตุการณ์ดังกล่าว และหลังจากนั้นมาก็ได้ตกลงกันเป็นเอกฉันท์ จัดสร้างพระธาตุเจดีย์เพื่อประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ ประกอบพิธีบรรจุและสมโภชเมื่อ วันที่ 20 มีนาคม 2514 โดยมีเจ้าพระคุณสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก (ปุ่น ปุณรสิริมหาเถร) วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ขณะดำรงพระอิสริยยศที่ สมเด็จพระวันรัต มาเป็นประธานในพิธี  พระบรมสารีริกธาตุ 5 พระองค์นี้ เป็นที่เคารพสักการะของชาวบ้านในชุมชุนแถบนี้เป็นอย่างมาก ด้วยความเคารพศรัทธาจึงได้พากันไเรียกพระบรมสารีริกธาตุว่า "หลวงพ่อพระธาตุ" และมีพุทธาสนิกชนมากราบไหว้ขอพรเป็นประจำมิขาดสาย  ในปี พ.ศ. 2556 พระครูสุญาณโสภิต เจ้าอาวาส ได้ก่อสร้างพระมหาธาตุเจดีย์องค์ใหม่สูง 3 ชั้น ที่บริเวณด้านหลังอุโบสถมีความสูงจากฐานถึงยอดฉัตร 39 เมตร กว้าง 35.66 เมตร ศิลปะลุ่มน้ำโขงประยุกต์ในปี งบประมาณ 27,000,000 บาท ปัจจุบันยังมิทันแล้วเสร็จได้ดำเนินการก่อสร้างจนถึงชั้นที่ 3 แล้ว ต่อมาในปีพ.ศ. 2558 พระธาตุเจดีย์องค์เดิมนี้ ได้ชำรุดทรุดโทรมเป็นอย่างมาก และฐานขององค์พระธาตุได้ทรุดลงมีรอยร้าวเป็นจำนวนมากเนื่องจากตั้งอยู่ติดถนนใหญ่ มีชัยภูมิที่ไม่เหมาะสม จึงได้ปรึกษาหารือกับกรรมการวัดและชาวบ้าน เพื่อความเหมาะสมจึงมีมติรื้อถอนพระเจดีย์องค์เดิมออก และประกอบพิธีเปิดกรุเมื่อวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2558 ได้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุพร้อมด้วยพระอรหันตธาตุ พระพุทธรูป และวัตถุโบราณจำนวนมากจากพระธาตุเจดีย์องค์เดิมมาประดิษฐานชั่วคราวที่อุโบสถชั้นที่1 ในวันที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2565 จะได้มีพิธีอัญเชิญขึ้นประดิษฐานบนพระมหาธาตุเจดีย์ชั้นที่ 3 ต่อไป

รวบรวมและเรียบเรียงเมื่อวันที่ 13 สิงหาคม 2565

คำนมัสการพระบรมสารีริกธาตุ 5 พระองค์
ว่านะโม 3 จบ
อะหัง วันทามิ อิธะ ปะติฏฐิตา พุทธะธาตุโย ตัสสานุภาเวนะ สะทา โสตถี ภะวันตุ เม